วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นิยาม 5


                                                 เพิ่มเติมสุดท้ายแล้วจ้า
ว่าด้วยด้วยเรื่อง  "นิยาม 5"
จากหนังสือ "เกิดเพราะกรรมหรือความซวย" โดยทันตแพทย์สม สุจีรา
พุทธศาสนาจำแนกกฎธรรมชาติออกเป็น 5 อย่าง เรียกว่านิยาม 5 (ความเป็นไปอันแน่นอนม กฎ) คือ
1. อุตุนิยาม (Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติ ที่ครอบคลุมความเป็นไปของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่นฤดูกาล อุณหภูมิ ดินฟ้าอากาศ ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แม้กระทั่งการเกิดของโลก และจักรวาลก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติข้อนี้ เช่นเดียวกับกฎทางฟิสิกส์ทั้งหมด
2. พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ การสืบพันธุ์หรือพันธุกรรม (DNA) ก็จัดอยู่ในพีชนิยาม เช่นเดียวกับกฎทฤษฎีทางชีววิทยาทั้งหมด
3. จิตนิยาม (Psychological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต เช่น การเกิดดับของจิต การรับอารมณ์ของจิต องค์ประกอบของจิต (เจตสิก)
4. กรรมนิยาม (Moral Laws) คือ กฎแห่งกรรมนั่นเอง
5. ธรรมนิยาม (Causal Laws) คือกฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอลคลุมความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ เช่น กฎแห่งอนิจจัง อิทัปปัจยตา กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎ 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้
พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ว่า ได้แก่กฎธรรมชาติ อันเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่แล้วในจักรวาล เพียงแต่พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบด้วยสัพพัญญุตญาณและนำมาเผยแผ่เท่านั้น ทรงรับรู้ เข้าใจถึงนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้งห้านี้อย่างลึกซึ้ง ทฤษฎีต่างๆที่นักวิทยาศาสตร์ก็คือความจริงแห่งนิยามเหล่านี้ เช่น ทฤษฎ๊วิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วินก็มาจากพีชนิยาม กฎของนิวตันก็มาจากอุตุนิยาม แต่พระพุทธองค์เลือกที่จะตัดความรู้ทางด้านอุตุนิยามและพีชนิยามออกจากคำสั่งสอน เพราะไมใช่ทางแห่งการดับทุกข์ และไปเน้นที่กรรมนิยาม จิตนิยามและธรรมนิยาม
ในทางตรงกันข้าม ตลอดเวลาสองพันปีที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์พยายามสึกษาในส่วนของพีชนิยามและอุตุนิยามมาโดยตลอด สิ่งนี้เป็นจุดเน้นที่ต่างกันระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา
อย่างไรก็ตาม กฎทั้งห้าล้วนสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ เช่น โรคเอดส์เป็นเชื้อไวรัสที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ตามกฎพีชนิยาม แต่เมื่อมนุษย์เสื่อมจากศีลธรรมเพราะมีโมหะหรืออวิชชา โรคระบาดจึงเป็นผลตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดนำท่วม ฝนไม่ตก ซึ่งเป็นจากกรรมนิยามที่สะท้อนมาจากพีชนิยาม ปรากฏการณ์คลื่นสึนามิก็เป็นอุตุนิยาม แต่เมื่อมีคนเสียชีวิต เกิดความเศร้าสลด เกิดเป็นจิตนิยามที่สะท้อนมาจากอุตุนิยาม
วิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญต่ออุตุนิยามและพีชนิยาม จนมองว่าเรื่องของจิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยามเป็นเรื่องไร้สาระ จนปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เริ่มหวนคิดกลับ เพราะโลภะจากจิตมนุษย์ แม้ทรัพยากรของโลกมีอยู่จำกัด แต่โลภะของมนุษย์มีอยู่อย่างไม่จำกัด และทำอย่างไรก็ไม่พอ วิทยาศาสตร์ไล่ตามอย่างไรก็ไม่ทัน นอกจากนั้นยังสร้างผลกระทบไปบังอุตุนิยาม เช่น เกิดสภาวะเรือนกระจก เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ลมฟ้าอากาศแปรปรวน หรือในทางพีชนิยามก็เกิดเชื้อโรคตัวใหม่ๆ ขึ้น เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อบางชนิด เช่น เชื้อหวัดนก เชื้อเอดส์ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เกิดการตัดต่อพันธุกรรม สร้างสิ่งมีชีวิตแปลกๆ ใหม่ ๆ ขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการค้นพบทางอุตุนิยามนำไปสู่การพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ การค้นพบทางพีชนิยามนำไปสู่อาวุธเชื้อโรค ในที่สุด ถ้านักวิทยาศาสตร์ไม่ใส่ใจกับจิตนิยาม โลกจะถึงแก่กาลพินาศเพราะน้ำมือมนุษย์เอง
พระพุทธองค์ทรงทราบดี จึงตัดพีชนิยาม อุตุนิยามออกจากคำสอน เพราะไม่มีประโยชน์อันใด มีแต่จะสร้งโลภะ โทสะ โมหะ และลำพังเฉพาะจิตนิยาม ธรรมนิยาม ก็สอนกันไม่หมดแล้ว
แม้จะตัดพีชนิยาม อุตุนิยามออกจากคำสอน แต่พระพุทธองค์ก็ยังทรงรวมมิยามทั้งสองไว้ในนิยาม ๕ เพราะวิทยามศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนา และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับนิยาม ๕ นี้ เช่น การที่เราปวดศีรษะอาจมีสาเหตุจากนิยามใดก็ได้ ถ้าเป็นการปวดศีรษะจากการติดเชื้อในสมอง ถือเป็นพีชนิยาม หรือปวดศีรษะจากการอยู่ในสถานที่อับร้อน อากาศไม่ถ่ายเทถือเป็นอุตุนิยาม แต่ถ้าปวดศีรษะจากความกลุ้มใจ กังวลใจ ถึงจะเรียกว่าเป็นกรรมนิยาม
จะเห็นได้ว่า แม้แต่การปวดศีรษะ ต้นเหตุก็ไม่ได้มาจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว ดังนั้นเราไปเหมารวมเหตุการณ์ทุกอย่างที่ประสบในชีวิตว่าเป็นผลจากกรรมเก่าไม่ได้

แนวข้อสอบอัตนัยมี  2  ข้อ
1. อธิบาย "กายนานุปัสสนาสติปัฏฐาน"
2. อธิบาย "นิยาม 5"

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบกลางภาควิชาพระพุทธศาสนา  ม.5  ข้อสอบเป็นแบบปรนัย  50  ข้อ  อัตนัย  2  ข้อ
เนื้อหาที่ออกสอบ  อยุ่ข้อความที่ครูโพสต์ไว้ทั้งหมด  โดยแบ่งเป็น
1. วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ     15   ข้อ
2. การบริหารจิต                         20   ข้อ
3. หลักธรรม                               15   ข้อ
แนวข้อสอบแบบอัตนัย  จะโพสต์ขึ้นให้ในวันจันทร์
หมายเหตุ  เนื้อหาเกี่ยวกับหลักธรรมยังออกไม่หมด  จึงเอาขึ้นเฉพาะที่ออกสอบค่ะ
                                                                                                  ครูชลิดา
พุทธจริยา
    คือ  การปฏิบัติตนหรือการบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า  พุทธจริยาประกอบด้วยพระจริยวัตรขอพระพุทธเจ้า  3  ประการ ดังนี้
1. โลกัตถจริยา  การบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลก
2. ญาตัตถจริยา  การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระประยูรญาติ
3. พุทธัตถจริยา  การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระองค์เองและผู้อื่นตามหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะทรงเป็นพระพุทธเจ้า
1. โลกัตถจริยา 
    คือ  การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้าต่อชาวโลก  ภายหลังการตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว  มีดังนี้
   2.1 เวลาเช้ามืดก่อนสว่าง ทรงพิจารณาถึงบุคคลหรือสถานที่ที่จะเดินทางไปโปรด
   2.2 เวลาเ้ช้า เสด็จออกบิณฑบาตร
   2.3 เวลาเย็น แสดงธรรมโปรดประชาชน
   2.4 เวลาค่ำ ประทานโอวาทแก่พระภิกษุ
   2.5 เวลาเที่ยงคืน สนทนาธรรมกับเทวดา (กษัตริย์หรือบุคคลชั้นสูง)
2. ญาตัตถจริยา
     คือ  การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้าต่อพระประยูรญาติ ซึ่งประกอบด้วย พระญาติวงศ์ 2 ฝ่าย ตั้งบ้านเมืองอยู่สองฝั่งแม่น้ำโรหิณี ได้แก่ ฝ่ายพระะมารดาที่เมืองเทวทหะ แคว้นโกลิยะ และฝ่ายพระบิดาที่เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สรุปพุทธจริยาในข้อนี้ได้ดังนี้
    2.1 โปรดพระบิดา(พระเจ้าสุทโธทนะ) และพระประยูรญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์  ภายหลังตรัสรู้ได้ 2 ปี ได้เสด็จไปแสดงธรรมเผยแผ่พระศาสนา ณ เมืองกบิลพัสดุ์ เป็นผลให้พระบิดาและพระญาติวงศ์เกิดความศรัทธาเข้ารับนับถือในพระพุทธศาสนาจำนวนมาก
    2.2 โปรดพระนางพิมพาและพระราหุล ผลจากการเสด็จไปแสดงธรรมเทศนาโปรดพระประยูรญาติในครั้งนี้ พระนางพิมพา(พระมารดาของพระโอรสราหุล) ได้ขออุปสมบทเป็นภิกษุณี ต่อมาได้ื่อใหม่ว่า "ภัททากัจจานา" และพระราหุล พระโอรสได้ขอบวชเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา
    2.3 ทรงระงับกรณีพิพาทระหว่างพระญาติ  โดยมีสาเหตุจากราษฎรชาวเมืองกบิลพัสดุ์กับชาวเมืองโกลิยะขัดแย้งกันเรื่องการทดน้ำเข้านาในช่วงฝนแล้ง ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำโรหิณีมีปริมาณลดต่ำลง ทำให้กองทัพทั้งสองฝ่ายเตรียมทำสงครามแย่งน้ำกัน พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปห้าม
3. พุทธัตถจริยา
    คือ  การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้าตามหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะที่ทรางเป็นพระบรมศาสดา  มีดังนี้
    3.1 ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์  สัตว์โลกที่พึงสั่งสอนอบรมขัดเกลาได้
    3.2 ทรงบัญญัติพระวินัยแก่พุทธบริษัท ได้แก่ ศีล 5 (ชาวพุทธทั่วไป) , ศีล 8 (อุบาสกและอุบาสิกา) , ศีล 10 (สามเณร)  , ศีล 227 (ภิกษุ)  , ศีล 311 (ภิกษุณี)
    3.3 ทรงมอบความเป็นไทยให้แก่คณะสงฆ์  เช่นมอบอำนาจให้คณะสงฆ์ในชนบทบริหารและปกครองกันเอง และทำพิธีบวชให้แก่ผู้ศรัทธาเลื่อมใส โดยไม่ต้องยึดติดกับพระพุทธองค์
    3.4 ทรงประกาศให้พระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์  ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงให้โอวาทแก่พระสงฆ์และพุทธบริษัทให้ยึดพระธรรมวินัยเป็นที่พึ่ง หรือเป็นศาสดาแทนพระองค์

                                                                   อริยสัจ 4
  คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ  เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และใ้ช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาชีวิตของชาวพุทะ มีดังนี้
1. ทุกข์  คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความโศกเศร้าเสียใจ (สภาวะที่ต้องกำหนดรู้)
2. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ส่วนใหญ่เกิดจากตัณหา (สภาวะที่ต้องละเว้น)
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ สภาวะที่ทุกข์หมดสิ้น (สภาวะที่ต้องบรรลุ)
4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้ทุกข์ดับ เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 (สภาวะที่ต้องเจริญหรือทำให้มี)
                                       **********************************

หน่วยที่ 1 ต่อ การบริหารจิตเจริญปัญญา

1. ความหมาย
    1.1 การบริหารจิต คือ การฝึกจิตให้มีสมาธิ (จิตที่มีสมาธิ หมายถึง ความตั้งมั่นแห่งจิต หรือภาวะที่จิตสงบนิ่ง แนบแน่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ไม่คิดวอกแวกในเรื่องอื่นใด
          การบริหารจิต เป็นการฝึกพัฒนาจิตให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ จิตที่สงบจะเกิดสมาธิ เมื่อจิตมีสมาธิแล้วจะเกิดปัญญาตามมา (ปัญญา คือ ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามสภาพที่เป็นจริง เ่่ช่น รู้สึกถึงสาเหตุที่ทำให้ตนมีความทุกข์ เป็นต้น)
    1.2 การเจริญปัญญา หมายถึง การฝึกฝนอบรมหรือพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดปัญญา 3 ทาง ได้แก่ ปัญญาที่เกิดจากการฟังและอ่าน ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา และปัญญาที่เกิดจากการลงมือปฎิบัติ  ปัญญาทั้ง 3 ประการนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีจิตเป็นสมาธิเสียก่อน

                                                                   การบริหารจิต
2. ประโยชน์ของการบริหารจิต
    การบริหารจิตด้วยการทำสมาธิ (หรือการฝึกสมถกรรมฐาน) มีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัิติ ดังนี้
    2.1 ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
           - ทำให้มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง และหายเครียด
           - ผ่อนคลายจากความรู้สึกวิตกกังวลในปัญญาที่เข้ามารุมเร้า
           - มีความกระตือรือร้นและมีประสิทธิภาพในการทำงาน และการเรียนหนังสือ
           - มีสติรู้ตัวตื่นอยู่ตลอดเวลา จึงตัดสินใจในปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วและถูกต้อง
           - มีความจำที่ดี ช่วยพัฒนาสมองให้มีคุณภาพ
    2.2 ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพ
           - มีภาวะความเป็นผู้นำ มีึความมั่นคงทางอารมณ์ หนักแน่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ ไม่โกรธง่าย หรือขี้หงุดหงิด ขี้ใจน้อย ไม่ขลาดหวาดกลัว
            - มีจิตใจสงบเยือกเย็น สุขุม สุภาพอ่อนโยน มีอารมณ์แจ่มใส มีเสน่ห์ดึงดูดใจ และได้รับความรักและความเป็นมิตรจากผู้ใกล้ิชิด
            - มีอุปนิสัยและท่าทีเป็นคนกระฉักกระเฉงว่องไว ไม่หดหู่หรือเซื่องซึม พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่คับขันได้
     2.3 ประโยชน์ทางด้านพระพุทธศาสนา
            ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถเจริญสมาธิได้ถึงระดับ ฌาณ หรือ "อัปปนาสมาธิ" ซึ่งเป็นระดับจิตเข้าสู่ความสงบอย่างแน่วแน่ เป็นสภาพของจิตที่ว่างจากอารมณ์ภายนอกทุกอย่าง ไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกที่มากระทบ โดยสามารถระงับ "นิวรณ์" ได้ (นิวรณ์ คือ กิเลสที่ปิดกั้นมิให้จิตพัฒนาให้สูงขึ้น) ซึ่งจะเป็นหนทางที่นำไปสู่การใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้แจ้งในสัจธรรม และบรรลุเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
3. การบริหารจิตตามหลักสติปัำฎฐาน 4
    3.1 ความหมาย "สติปัฏฐาน" หมายถึง การตั้งสติเพื่อพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ให้รู้และเข้าใจตามที่เป็นจริง หรือการใ้้ช้สติกำกับใน 4 เรื่อง ดังนี้
        (1) การติดสติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา) คือการมีสติกำหนดรู้อย่างเท่าทันในเรื่องของร่างกายและอิริยาบถต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ฯลฯ มีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
             - อานาปานสติ  ใ้ช้สติกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
             - กำหนดอิริยาบถ  ใ้ช้สติกำหนดรู้การเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่น หรือนอน สติจะคอยกำกับอยู่ตลอดเวลา ทำให้รู้ว่าร่่างกายกำลังเคลื่อนไหวอยู่ในอาการอย่างไร
              - ปฏิกูลมนสิการ  ใ้ช้สติพิจารณาร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ให้เห็นความสกปรกมีสิ่งปฏิกูลเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างมากมาย
              - นวสีวถิกา ใช้สติพิจารณาคนตายในสภาพต่าง ๆ 9 ระยะ ตั้งแต่ระยะที่ 1 ศพคนตายใหม่ ๆ ไปจนถึงระยะที่ 9 ซากศพที่เหลือแต่กระดูกผุกร่อน โดยนึกถึงตนเองว่าไม่ช้าก็ต้องตกอยู่ในสภาพเ่ช่นนั้น
       (2) การติดสติกำหนดพิจารณาเวทนา (เวทนานุปัสสนา) คือใช้สติพิจารณาเวทนา(ความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกมีความสุข หรือความรู้สึกเฉย ๆ ) ตามสภาพที่เป็นจริงในขณะนั้น ตัวอย่างเช่น ขณะกำลังนั่นสมาธิ เกิดมีเวทนาในความรู้สึกทุกข์ที่เกิดจากอาการเมื่อยขึ้นมา ก้ให้ตั้งสติกำหนดรู้ตามความรู้สึกที่เป็นจริงในขณะนั้นว่า "ปวดเมื่อยหนอ ๆ" จนกว่าความรู้สึกนั้นจะจางหายไป
        (3) การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา) หมายถึงการใ้ช้สติกำหนดรู้สภาวะของจิตในขณะนั้นว่าอย่างไร เช่น มีความโกรธ มีความหลง มีราคะจากความคิดถึงคนรัก หรือมีจิตคิดฟุ้งซ่านหรือไม่อย่างไร ในขณะกำลังเจริญสมาธิให้สำรวจสภาพจิตของตนว่าตกอยู่ในสภาวะเช่นนั้นหรือไม่ ถ้าเกิดมีจริงก็ให้มีสติรู้เท่าทัน โดยกำหนดรู้ว่า "ฟุ้งซ่านหนอๆ" และนำจิตเข้าสู่สมาธิดังเดิม
       (4) การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธัมมานุปัสสนา) คือ การใ้ช้สติพิจารณาธรรมต่าง ๆ
            - อริยสัจ 4 ใ้ช้สติพิจารณาจนรู้แจ้งชัดเจนว่าคืออะไร เป็นอย่างไร และมีอะไรบ้าง
            - นิวรณ์ ใ้ช้สติพิจารณาจนรู้ชัดว่าตนเองมีนิวรณ์อยู่ในใจหรือไม่ เช่น มีกามฉันทะ (ความใคร่ในกาม) หรือพยาบาท (คิดปองร้าย) หรือความง่วงเหงาหาวนอนหรือไม่ ถ้ามีจะกำจัดให้หมดไปได้อย่างไร
4. วิธีการบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน
     4.1 การนั่งกำหนด หรือนั่งสมาธิ  เป็นการปฏบัติในสติปัฏฐานข้อแรก คือ กายานุปัสสนา โดยผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติกำหนดรู้การกระทำของร่างกาย เช่น ขณะที่หลับตานั่งสมาธิให้ตั้งสติไว้ที่หน้าท้อง เมื่อหายใจเข้าและหายใจออก ให้กำหนดรู้อาการพองและยุบของหน้าท้อง โดยภาวนาในใจไม่ต้องออกเสียงว่า "พองหนอ ยุบหนอ ๆ" เรื่อย ๆ ไป เพื่อให้จิตเกิดสมาธิ และเข้าใจสภาวะที่เป็นจริงตามธรรมชาติของชีวิต
     4.2 การเดินจงกรม เป็นการปฏิบัติในสติปัฏฐานในข้อกำหนดอิริยาบถเดิน ผู้ปฏิบัติจะตองมีสติรู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังเดินหรือยกเท้าก้าวแต่ละก้าวไปทางใด ประโยชน์ของการเดินจงกรม มีดังนี้
           (1) กำจัดนิวรณ์(กิเลส) ในข้อ "ถีนมิทธะ" (ง่วงเหงาหาวนอน) กล่าวคือ เมื่อนั่งสมาธินานๆ จะเกิดอาการง่วงนอน ดังนั้น จึงต้องเดินจงกรมสลับกัน เพื่อให้เกิดวิริยะความเพียรและกำจัดนิวรณ์ข้อนี้ออกไป
            (2) เป็นผลดีตอระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย การเดินจงกรมจะ่ช่วยให้อาหารย่อยได้ง่าย และถ้าใ้ช้เวลาเดินนานนัับชั่วโมง จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของเท้าและร่างกายส่วนอื่น
5. ผลดีของการบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน
     การฝึกบริหารจิตตามหลักสติปัฎฐาน จะเกิดผลดีต่อผู้ปฏิบัติและผลดีต่อสังคม ดังนั้
     5.1 ช่วยให้ความจำดี และเรียนหนังสือได้ผลดี  คนที่ฝึกจิตจนเกิดสมาธิ มีสติรุ้ตัวตัวอยู่เสมอไม่คิดฟุ้งซ่าน และใจจดจ่อกับสิ่งที่กำลังอ่าน เขียน หรือฟัง จะส่งผลให้เกิดความจำดี เข้าใจเรื่องที่เรียนได้อย่างรวดเร็ว และทำให้มีผลการเรียนดี
     5.2 ่วยให้มีชีวิตที่สงบสุข คนที่ฝึกจิตจนเกิดสมาธิ ให้สติควบคุมคนเองให้อยู่ในกรอบ ศีลธรรมอันดีงาม จะมีความพอใจในสภาวะเป็นอยู่ของตนหรือพอใจในสิ่งที่ตนมี ไม่ิคิดโลภอยากได้วัตถุกิเลสต่าง ๆ ตามแต่จิตจะนำพาไป ทำให้ชีวิตมีความสงบสุข
    5.3 ช่วยให้มีบุคลิกภาพดี มีความมั่นคง หนักแน่น และมีสุขภาพจิตดี ไม่หวั่นไหวไปกัีบสิ่งเร้า ภายนอกที่มากระทบ เมื่อไม่สมหวังในสิ่งที่ปรารถนาก็ใ้ช้สติควบคุมอารมณ์เศร้าโศกและความทุกข์ได้
    5.4 ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความสุขความเจริญ คนที่ผ่านการฝึกการบริหารจิตอย่างดีแล้วย่อมเป็นคนมีคุณภาพ มีจิตใจงดงาม และมีสุขภาพจิตดี ยิ่งถ้ามีจำนวนมากเพียงใดก็ย่อมจะเกิดผลดีต่อสังคมส่วนรวม บุคคลเหล่านี้จะ่ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความสุขความเจริญและก้าวหน้ายิ่งขึ้น
                                                       *****************************